เกร็ดความรู้
การบาดเจ็บที่ศีรษะ
มักเกิดจากอุบัติเหตุในโรงเรียน เช่น วิ่งชนกัน การเล่นกีฬาหรือเครื่องเล่นเด็ก ตกจากที่สูง อุบัติเหตุจราจร
อาการ
อาจเป็นแผลเพียงเล็กน้อย หัวโน หรือฟกช้ำที่หนังศีรษะ หรืออาจรุนแรงกะโหลกร้าว กระทบกระเทือนต่อสมอง มีเลือดออกในสมอง ซึ่งอาจแสดงอาการได้หลายลักษณะ เช่น หมอสติไปชั่วครู่ งง เวียนศีรษะ ปวดศีรษะรุนแรง อาเจียนพุ่ง มีน้ำหรือเลือดออกจากปาก จมูกหรือหู เพ้อ ชัก อัมพาตครึ่งซีก ปากเบี้ยว กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
การรักษาเบื้องต้น
การปฏิบัติตัว
ถ้าไม่สลบ รู้สึกตัวดี ไม่มีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด ทุก 2-4 ชั่วโมงโดยเฉพาะในช่วง 24 ชั่วโมงแรก ซึ่งอาจต้องช่วยกันสังเกตทั้งเวลาที่เด็กอยู่ที่โรงเรียนและที่บ้าน เมื่อพบมีอาการเปลี่ยนแปลงรุนแรงแทรกซ้อนตามมา ควรรีบส่งต่อโรงพยาบาล ด่วน
ให้ยารักษาตามอาการ
ให้ ยาพาราเซตามอล เพื่อบรรเทาอาการปวด
การป้องกัน
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจทำให้ศีรษะได้รับบาดเจ็บ คำนึงถึงความปลอดภัยในโรงเรียน เช่น เล่นอย่างระมัดระวัง ตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องเล่นสนาม มีแผงเหล็กหรือกรงเหล็กกันการตกจากที่สูง
เอกสารอ้างอิง
1. มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา. คู่มือตู้ยาโรงเรียนและแนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา; พ.ศ. 2553. หน้า 74-76