เกร็ดความรู้
กระดูกหัก
มักเกิดจากการได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในโรงเรียน เช่น วิ่งชนกัน หกล้ม การเล่นกีฬา หรือเครื่องเล่นเด็ก ตกจากที่สูง อุบัติเหตุจราจร
อาการ
บริเวณที่หักมีลักษณะบวม เขียวช้ำ เจ็บปวด ซึ่งจะเป็นมากเวลาเคลื่อนไหวหรือใช้มือกดถูก อาจรู้สึกเคลื่อนไหวส่วนนั้นลำบาก พบลักษณะผิดรูปผิดร่าง เช่น แขนขาโก่งงอ หรือสั้นยาวไม่เท่ากัน จับกระดูกดูอาจรู้สึกกรอบแกรบ
การรักษาเบื้องต้น
1.หากสงสัยกระดูกหัก ควรส่งต่อโรงพยาบาล ด่วน โดยก่อนส่งควรให้การปฐมพยาบาล ได้แก่ การห้ามเลือด การใส่เฝือกหรือดามกระดูกส่วนที่หักไว้
การปฐมพยาบาลกระดูกหัก
การดามกระดูกไหปลาร้า
การดามกระดูกซี่โครง
การดามกระดูกต้นแขน
การดามกระดูกข้อศอก
การดามกระดูกปลายแขน
การดามกระดูกนิ้วมือ
การดามกระดูกขา
การดามกระดูกต้นขา
การดามกระดูกเชิงกราน
การดามกระดูกหลังและคอ
2.ถ้าปวดมากให้ ยาพาราเซตามอล และ/หรือ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ เช่น ไอบูโพรเฟน
การป้องกัน
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ คำนึงถึงความปลอดภัยในโรงเรียน เช่น เล่นอย่างระมัดระวัง ตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องเล่นสนาม มีแผงเหล็กหรือกรงเหล็กกันการตกจากที่สูง
เอกสารอ้างอิง
1. มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา. คู่มือตู้ยาโรงเรียนและแนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา; พ.ศ. 2553. หน้า 78-81