ตู้ยาโรงเรียน


เกร็ดความรู้

ไข้หวัด

     อาการเริ่มต้นของไข้หวัด คือ มีไข้ร่วมกับอาการไอ เจ็บคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล 

เด็กจามสามารถให้การรักษาเบื้องต้นได้โดย

รักษาตามอาการ:

- ให้นอนพักผ่อน ดื่มน้ำมากๆ

- ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวบ่อยๆ (สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเรื่อง วิธีการเช็ดตัว ได้ที่:วิธีการเช็ดตัวเพื่อลดไข้ (Tepid Sponge))

รักษาด้วยยา: 

- ยาลดไข้บรรเทาปวด พาราเซตามอล

ยาแก้แพ้ ลดน้ำมูก เมื่อมีอาการคัดจมูกหรือมีน้ำมูกมาก

- ยาน้ำแก้ไอขับเสมหะสำหรับเด็ก

- หากดื่มน้ำได้น้อย ให้ ผงน้ำตาลเกลือแร่

 

การส่งต่อโรงพยาบาลเพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมโรงพยาบาล
- เมื่อมีอาการมาก ได้แก่ ปวดหัวมาก หนาวสั่นมาก อาเจียน หรือท้องเสียมาก ปวดท้องมาก ซีดเหลือง กินไม่ได้ หรือกินได้น้อยกว่าปกติอย่างชัดเจน หรือมีภาวะขาดน้ำ
- เด็กที่มีโรคประจำตัวเป็นหอบหืด
- มีประวัติเข้าป่า หรือ มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตายภายใน 7 วันก่อนมีไข้ หรือ อยู่ในพื้นที่ที่มีไข้หวัดนกระบาดภายใน 14 วันก่อนมีไข้
- มีการสัมผัสผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ในช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ หรือเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดใหญ่ที่รุนแรง
- ถ้ามีน้ำมูกข้นเหลืองเขียวเกิน 24 ชั่วโมง หรือไข้นานเกิน 4 วัน หรือหากอาการทรุดลงควรส่งต่อรถพยาบาล


การส่งต่อโรงพยาบาล ด่วน
- เมื่อมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ ซึมผิดปกติ ไม่ค่อยรู้สึกตัว แขนขาอ่อนแรง ขากรรไกรแข็ง คอแข็งก้มคอไม่ลง ชัก มีเลือดออก หรือช็อก (กระสับกระส่าย เหงื่อออก ตัวเย็น ปัสสาวะออกน้อย) มีอาการหายใจเหนื่อย เจ็บหน้าอก หรือหอบมาก

 

เอกสารอ้างอิง

1. มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา. คู่มือตู้ยาโรงเรียนและแนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา; พ.ศ. 2553. หน้า 4-5.

แผนภูมิไข้หวัด (1)

แผนภูมิไข้หวัด (2) 

 


ร่วมสนับสนุนโดย มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา (วพย.)