เกร็ดความรู้

สัตว์กัด แมลงต่อย

       พบได้บ่อยในโรงเรียน เด็กที่ซุกซน อาจไปเล่นในที่รก หรือ แหย่สัตว์ หรือ เล่นตัวสัตว์โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ นอกจากนี้สภาพแวดล้อมและความสะอาดของโรงเรียนก็อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้มีสัตว์ต่างๆ แฝงตัวอยู่ได้
บาดแผลที่เกิดจากสัตว์กัด เป็นบาดแผลสกปรก อาจทำให้มีเลือดออก ติดเชื้ออักเสบ และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคบาดทะยัก  ถ้าเกิดจากสุนัข แมว สัตว์กัดแทะ หรือสัตว์ป่า กัด ก็อาจทำให้เป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้
ถ้าเกิดจากงูพิษ ก็อาจมีอันตรายร้ายแรงจากพิษงู

อาการ
       มีรอยถูกสัตว์กัด อาจถลอก หรือมีเลือดออก บวม ช้ำ ปวด อาจมีอาการแพ้คันเป็นผื่นลมพิษ หรือมีอาการแพ้รุนแรงได้
อาการในระบบอื่นๆ เช่น หากถูกงูที่มีพิษต่อระบบประสาทกัดจะมีอาการง่วงซึม หนังตาตก แขนขาอ่อนแรง หายใจลำบาก หากถูกงูที่มีพิษต่อระบบเลือดกัด อาจมีอาการเลือดออกตามร่างกาย ไตวายได้

การรักษาเบื้องต้น
1.เมื่อถูกสัตว์กัด ให้รีบล้างแผลด้วยน้ำสะอาดกับสบู่ทันที ควรฟอกให้นานอย่างน้อย 5 นาที แล้วใช้ผ้าก๊อซปิด
2.ถ้าแผลเหวอะหวะและมีเลือดไหลมาก ควรทำการห้ามเลือด แล้วส่งโรงพยาบาล ด่วน
3.ถ้าเกิดจากงูกัด ควรปฐมพยาบาลโดย

  • ขันชะเนาะเหนือรอยเขี้ยว 2-4 นิ้วฟุต ให้แน่น คลายเชือกครั้งละ ½-1 นาที ทุกๆ 15 นาที จนกว่าจะถึงโรงพยาบาล
  • ควรวางอวัยวะที่ถูกกัดให้อยู่นิ่ง ในระดับต่ำกว่าหัวใจ
  • ควรดูชนิดงูให้รู้แน่ชัดหรือตีงูให้ตายแล้วเอาไปโรงพยาบาลด้วย
  • ถ้าปวดให้ ยาพาราเซตามอล ห้ามให้แอสไพริน       

ใช้ผ้าพันรอบขา

บนผ้าที่ทับอยู่

บนเส้นเลือดแดง

 

สอดท่อนไม้เข้าไว้

ระหว่างเงื่อน แล้วหมุน

หรือขันชะเนาะหลายๆรอบ

 

ผูกอีกปลายหนึ่งของท่อนไม้

เข้ากับขาเพื่อไม่ให้เกลียวคลาย

 

 

4.ถ้าเกิดจากสุนัขกัดควรปฐมพยาบาลโดย

  • ควรล้างแผลตามวิธีในข้อ 1. และ ใช้ยาใส่แผล แอลกอฮอล์ หรือโพวิโดนไอโอดีน
  • หากสุนัขไม่มีเจ้าของ หรือสุนัขจรจัด ให้ถือว่าสุนัขมีโอกาสอย่างมากที่จะเป็นโรคพิษสุนัขบ้า หากสุนัขมีเจ้าของให้ถามประวัติการรับวัคซีนของสุนัข
  • ไปสถานพยาบาลหรือโรงพยาบาล เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักและพิษสุนัขบ้า
  • ถ้าแผลเหวอะหวะมากควรไปโรงพยาบาลด่วน เนื่องจากต้องห้ามเลือดและฉีดวัคซีนอิมมูโนโกลบุลิน
  • สังเกตอาการสุนัข 10 วัน หากมีอาการผิดปกติหรือตาย ให้รีบแจ้งสถานพยาบาล

5.ควรส่งต่อสถานพยาบาล เนื่องจากต้องให้ยาปฏิชีวนะ และ/หรือ วัคซีนป้องกันบาดทะยัก
6.กรณีงูกัด สุนัขกัด สัตว์ไม่ทราบชนิดกัด ควรส่งโรงพยาบาล ด่วน

การป้องกัน
1.จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้สะอาด เป็นระเบียบ สนามหญ้าและต้นไม้ไม่ให้รก
2.สอนเด็กนักเรียนให้ระมัดระวังในการเล่น ไม่ควรเล่นตัวสัตว์ ไม่ควรแหย่สัตว์
3.ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้สุนัข

เอกสารอ้างอิง
1. มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา. คู่มือตู้ยาโรงเรียนและแนวทางการรักษาโรคที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา; พ.ศ. 2553. หน้า 86-88

 

 


ติดต่อเรา | แผนผังเว็ปไซต์
เข้าสู้เว็บไซต์